FAQ | คำถามที่พบบ่อย❓
โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ จัดว่าเป็น พลังงานสะอาดจากธรรมชาติที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว โซลาร์เซลล์ ยังเป็น “พลังงานทางรอด” ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขวิกฤตพลังงานที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้จริง และสามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัด โดยไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตใดๆ ด้วยเหตุนี้ โซลาร์เซลล์ จึงเป็นทางรอดของเป้าหมาย SDGs7 Affordable and Clean Energy ที่ต้องการผลักดันให้ทุกคนหันมาใช้พลังงานสะอาด และทำให้ทุกๆ พื้นที่บนโลกรอดพ้นวิกฤติพลังงาน และเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืนในราคาที่เหมาะสม
การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน นิยมใช้ซิลิคอน (Si) ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำคัญในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ ยังมีวัสดุอื่นๆ ที่สามารถนำมาผลิตโซลาร์เซลล์ได้ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Di selenide) เป็นต้น
1) N-Type คือ แผ่นซิลิคอนที่ผ่านกระบวนการโดปปิ้งด้วยสารฟอสฟอรัส ทำให้มีคุณสมบัติเป็นตัวส่งอิเล็กตรอน เมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์
2) P-Type คือ แผ่นซิลิคอนที่ผ่านกระบวนการโดปปิ้งด้วยสารโบรอน ทำให้โครงสร้างของอะตอมสูญเสียอิเล็กตรอน (โฮล) เมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ จะมีคุณสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอน ซึ่งเมื่อนำซิลิคอนทั้ง 2 ชนิด มาประกบต่อกันด้วย p – n junction จึงทำให้เกิดเป็น ”โซลาร์เซลล์”
หลักการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ คือ เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบ แสงอาทิตย์จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน และโฮล ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น โดยอิเล็กตรอน ก็จะเคลื่อนไหวไปรวมตัวกันที่ Front Electrode และโฮลก็จะเคลื่อนไหวไปรวมตัวกันที่ Black Electrode และเมื่อมีการเชื่อมต่อระบบจนครบวงจรขึ้น ก็จะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าให้เราสามารถนำไปใช้งานได้
เมื่อมีแสงอาทิตย์มาตกกระทบแผงโซลาร์เซลล์ จะเกิดการเปลี่ยนจากพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC current) ส่งผ่านเครื่องแปลงไฟ (อินเวอร์เตอร์) เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current) และจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในอาคาร (MDB) และจะผสมกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า จากนั้นจะไหลไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อย่างอัตโนมัติ
ใช้งานไม่ได้ เนื่องจากระบบที่ติดตั้งเป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า (On-Grid) ดังนั้น เมื่อไฟฟ้าดับเครื่องแปลงไฟ (Inverter) จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าในกรณีที่มีการซ่อมระบบ เนื่องจากหากระบบไม่หยุดทำงาน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ solar cell อาจจะย้อนเข้าระบบสายส่งและทำให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานแก้ไขระบบไฟฟ้าได้
คือ การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เนื่องจากไฟฟ้าเป็นพลังงานควบคุมที่ต้องมีการแจ้งให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ตามข้อกำหนด และระเบียบจากทางราชการ
ติดตั้งได้กับหลังคาทุกชนิด ยกเว้นหลังคาสังกะสี และหลังคาลอนคู่ (Roman Tile) ที่อายุมากกว่า 10 ปี หลังคาที่มีความชันสูงเกินกว่า 60 องศา จะไม่แนะนำให้ติดตั้ง
ติดตั้งได้กับหลังคาทุกชนิด ยกเว้นหลังคาสังกะสี และหลังคาลอนคู่ (Roman Tile) ที่อายุมากกว่า 10 ปี หลังคาที่มีความชันสูงเกินกว่า 60 องศา จะไม่แนะนำให้ติดตั้ง
สิ่งที่ลดความเข้มของแสง เช่น เงา, เมฆ, ฝุ่น, ใบไม้, ความลาดเอียงของการติดตั้ง อย่างไรก็ตามตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
โดยทั่วไป แผงโซลาร์เซลล์มีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้งานได้ถึง 25 ปี โดยประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80% ส่วนแผงโซลาร์เซลล์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 25 ปีเป็นต้นไป ประสิทธิภาพจะลดลงตามอายุการใช้งานและการบำรุงรักษา
ติดได้ทุกที่ที่มีแสงอาทิตย์ แต่ที่นิยมกันคือการติดตั้งบนพื้นดิน บนหลังคา รวมถึงการติดตั้งบนหลังคาจอดรถ (Carport), กันสาด (Canopy) และปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ติดตั้งบนน้ำ (Floating Solar)
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรหันแผงไปทางทิศใต้ มุมเอียง 10-15 องศา หากไม่มีความจำเป็นควรหลีกเลี่ยงการหันแผงไปทางทิศเหนือ และควรติดตั้งแผงในจุดที่ไม่มีร่มเงาต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างบัง
ด้วยเทคโนโลยีตอนนี้ เราสามารถใช้แบตเตอรี่เก็บพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไว้ใช้ตอนกลางคืนได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องการติดตั้งระบบที่พึ่งพาตัวเอง 100% ก็ต้องติดตั้งแผงโซล่ามากขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยกักเก็บไฟไว้ในแบตเตอรรี่ที่มีขนาดใหญ่พอ เหมือนถ้าเราเป็นคนใช้มือถือหนักมาก และต้องการใช้งานทั้งวัน ก็ต้องใช้พาวเวอร์แบงค์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี ราคาแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟฟ้าขนาดใหญ่ยังมีราคาสูงมากอยู่
มีความเป็นไปได้ หากการติดตั้งไม่ได้ถูกออกแบบอย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้น ควรใช้บริการบริษัทรับติดตั้งที่ได้มาตรฐาน และก่อนการติดตั้ง จำเป็นต้องมีวิศวกรสำรวจโครงสร้างอาคาร เพื่อทำการออกแบบให้เหมาะสมกับโครงสร้างและชนิดของหลังคา นอกจากนี้ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ควรมีพื้นที่หลังคาพอให้สามารถเข้าถึงแผงได้เพื่อการซ่อมบำรุงในภายหลัง
Solar Cell 1 กิโลวัตต์ (ขนาดแผงโซล่า 120 X 60 เซนติเมตร จำนวน 10 แผง) ผลิตไฟฟ้าได้ 1,300 kWh/yr (หน่วยต่อปี
การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG emissions = Activity Data x Emission Factor
= 1,300 kWh x 0.6933 kgCO2e/kWh
= 901.3 kgCO2e
ดังนั้น Solar Cell 1 กิโลวัตต์ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ 901.3 kgCO2e ต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 101 ต้น (การปลูกต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 8 กิโลกรัมต่อปี)
ขนาดของโซลาร์เซลล์ตามท้องตลาดที่นิยมติดกันอยู่ที่ประมาณ 3 kWp ขึ้นไป และเพื่อความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ควรติดตั้งขนาดของระบบไม่สูงไปกว่าค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าฐานในช่วงกลางวัน (Base Load) เพราะจะทำให้ผู้ติดตั้งสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จะมีต้นทุนคงที่ เช่น ค่าแรงติดตั้งระบบ เป็นต้น ซึ่งต้นทุนดังกล่าวไม่แปรตามขนาด ดังนั้น ขนาดโซลาร์เซลล์ต่ำกว่า 3 kWp ก็ติดตั้งได้เช่นกัน แต่ต้นทุนเฉลี่ยต่อ kWp ก็จะสูงขึ้น
สำหรับค่าบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ เช่น ค่าทำความสะอาดแผง ค่าเปลี่ยน Inverter ฯลฯ จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานและชนิดอุปกรณ์ที่เลือกใช้
การติดตั้งโซลาร์เซลล์สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้จริง ขึ้นอยู่กับขนาดของแผงที่ติดตั้งและกำลังการผลิตไฟฟ้า โซลาร์เซลล์สามารถแปลงเป็นไฟฟ้าไว้ใช้ในช่วงเวลากลางวัน ช่วยลดค่าไฟได้ 40-80% ต่อเดือน
ในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ บริษัทที่รับติดตั้งจะต้องทำเรื่องขออนุญาต และคำนวณจำนวนการติดตั้งไม่ให้เกินขนาดหม้อแปลงในพื้นที่นั้นๆ อยู่แล้ว
ระบบโซล่าจะผลิตไฟฟ้าตามช่วงความเข้มแสง ถ้ามีความเข้มแสงที่เหมาะสม ระบบโซล่าจะผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับแดดแรงหรือไม่แรง
โดยทั่วไปการลงทุนติดตั้งระบบโซล่า จะคืนทุนในระยะเวลา 3-6 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณการใช้ไฟฟ้า หรือธุรกิจของคุณได้รับการส่งเสริมต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยพิเศษจากสถาบันการเงิน มาตรการการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งสมารถเสมือนช่วยลดการลงทุนถึง 50%
ปัจจุบัน ภาครัฐมีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานจากประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีกำลังติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์เท่านั้น
การบำรุงรักษาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) และการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ระบบโซล่าทำงานได้เต็มประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน
ระบบโซลาร์จะถูกออกแบบให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่า ซึ่งเป็นไปตามหลักวิศวกรรม โอกาสที่ฟ้าจะผ่าจะมีเหมือนสถานที่อื่นๆ ทั่วไปตามปกติ การติดตั้ง Solar cell ไม่ได้เพิ่มโอกาสให้เกิดฟ้าผ่า เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ไม่ได้เป็นอุปกรณ์ล่อฟ้า นอกจากนี้ ในการติดตั้งยังมีการวางระบบ การติดตั้งสายดินเพื่อเป็นการป้องกันฟ้าผ่าอีกด้วย
การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะไม่ทำให้ภายในอาคารร้อนขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร และลดการทำงานของระบบปรับอากาศได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะแผงโซลาร์เซลล์จะเป็นปราการแรกที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์จึงสามารถช่วยกรองแสงส่วนหนึ่งได้ก่อนความร้อนและแสงจะส่องถึงหลังคาอาคาร
เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องอาศัยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงก่อให้เกิดการเผาก๊าซ CO2 น้อยตลอดอายุการใช้งาน
2) พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด
3) พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย
4) พลังงานแสงอาทิตย์เบบติดตั้งบนหลังคาสามารถผลิตไฟฟ้าและช่วยลดบิลค่าไฟฟ้าได้
5) ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษสู่สภาพอากาศ (Zero Emission)